เรื่อง ประวัติทางการแพทย์ มารยาทของการเต้นรำ และประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room
รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 6 ภาคเรียนที่่ 2 ปีการศึกษา 2555

จัดทำโดย
1. น.ส.ปภาดา ทับทิมเขียว ม.6/1 เลขที่ 4
2. น.ส.เรียงกานท์ ศรมยุรา ม.6/1 เลขที่ 6
3. น.ส.อภิสรา นาถวิริยกุล ม.6/1 เลขที่ 8
4. นายธิติวุฒิ ไกรถิ่น ม.6/1 เลขที่ 14

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติทางการแพทย์



สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์


สมัยพุทธกาล ท่านชีวกโกมาภัจจ์แพทย์จบการศึกษาแพทย์ จากตักศิลาแล้ว ได้ไปรักษาโรคให้แก่ผู้คนที่เมืองสาเกต เมืองหลวงของอโยธยามีแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากมายแสดงว่าในสมัยนั้นการแพทย์ของอโยธยาเจริญรุ่งเรืองมาก จนเป็นที่หมายตาของแพทย์ที่ต้องการสร้างชื่อเสียงและผลงาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แสดงว่า ดินแดนของไทยส่วนที่ขอมเคยเรืองอำนาจมาก่อนได้มีการสร้างศาสนสถานและอโรคยศาลา (โรงพยาบาล) กระจายกันอยู่ทั่วไปถึง 102 แห่ง ทั้งในชุมชน และตามรายทางการติดต่อเชื่อมหัวเมืองต่างๆ มีหมอ พยาบาล เภสัชกร มีการผลิตยาแจกจ่ายให้แก่ราษฎรมีการค้นพบหินบดยาที่ใช้ในสมัยทวาราวดี


สมัยสุโขทัยหลังการประกาศอิสระภาพจากการปกครองของขอม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่ขึ้นบนเขาหลวงหรือที่เรียกว่าเขาสรรพยา ซึ่งยังคงปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ที่จังหวัดสุโขทัย


สมัยอยุธยา การแพทย์มีความเจริญรรุ่งเรืองมากมีแพทย์หลวงประจำองค์พระมหากษัตริย์ มีการจารึกตำรับตำราลงในสมุดข่อยและใบลานมากมาย ส่วนใหญ่เสียหายจากการถูกพม่าเผากรุงครั้งสุดท้าย ส่วนที่เหลืออยู่ถูกต่างประเทศซื้อไปเป็นจำนวนมาก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้จัดระบบระเบียบการจัดหายามีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งมีการรวบรวมตำรับยาขึ้น เรียกว่า ตำราโอสถพระนารายณ์การแพทย์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก รวมถึงการนวดด้วย



สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขร วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทรงให้รวบรวมตำรายา ฤาษีดัดตน ตำราการนวด จารึกไว้ตามผนังและเสาตามศาลาราย ทรงให้จัดตั้งกรมหมอและโรงพระโอสถ แพทย์ที่รับราชการเรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รับรักษาราษฎรทั่วไปเรียกว่าหมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์




สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้ที่ชำนาญโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายา นำเข้ามาถวายให้กรมหมอหลวงคัดเลือกจดเป็นตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถในปี 2359 ทรงตรากฎหมาย ชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย



สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรวัดโพธิ์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นเป็นแห่งแรก คือ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ ทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้ที่มีตำรับตำรายาแผนโบราณที่มีสรรพคุณดีเป็นที่เชี่อถือได้ นำมาถวายเพื่อมาจารึกบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามผนังพระอุโบสถศาลาราย เสา และกำแพงวิหารคตรอบพระเจดีย์สี่องค์ ส่วนใหญ่เป็นตำราบอกสมุฏฐานโรคและการรักษา ปลูกสมุนไพรที่จำเป็นต้องใช้และหายากไว้เป็นจำนวนมาก ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนท่าต่างๆ ในระยะนั้นการแพทย์ตะวันตกได้เข้ามามากคณะมิชชันนารีโดยการนำของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น เป็นต้น





สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการนำการแพทย์ตะวันตกมาใช้มากขึ้นแต่ยังไม่ได้รับความนิยม เช่น การทำคลอด เป็นต้น





สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดตั้งศิริราชพยาบาล ใน พ.ศ. 2431 สอนและรักษาโรคโดยแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนตะวันตกจัดพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้น คือ แพทย์ศาสตร์สังเคราะห์ โดย พระยาพิษณุประสาทเวช ได้รับการยกย่องให้เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาได้จัดพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ คือ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม ซึ่งเป็นตำราแพทย์แผนโบราณที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน


สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณตราพระราชบัญญัติการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2466 เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากเลิกการประกอบอาชีพนี้ไป

สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็น แผนปัจจุบันและแผนโบราณ ให้การจำกัดขอบเขตการประกอบโรคศิลปะของแพทย์แผนโบราณเป็นแบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน


สมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีการจัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ที่วัดโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2500 มีการจัดสอนการแพทย์แผนโบราณขึ้นตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเอกชนและตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก เริ่มก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ในปี พ.ศ. 2525 ตรากฎหมายให้มีการแพทย์แผนโบราณทั่วไปและแผนโบราณแบบประยุกต์ ซึ่งสามารถศึกษาและตรวจรักษาโรคโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ประกอบได้



องค์การอนามัยโลกได้บังคับให้ประเทศที่จะขอการสนับสนุนงบประมาณ ต้องนำเอาการแพทย์พื้นเมืองมาพัฒนาใช้
ในประเทศของตนด้วย ทำให้หน่วยงานของรัฐหลายแห่งหันมาทำโครงการส่งเสริมการแพทย์แผนโบราณรูปแบบต่างๆ ขึ้นแต่ก็เป็นไปตามช่วงของงบประมาณ ประมาณปี พ.ศ. 2538 


กระแสความต้องการในต่างประเทศที่หันไปใช้การดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ผู้คนในประเทศหันมาให้ความสนใจในการใช้ยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรมากขึ้น ทำให้องค์กรและบุคคลากรทางด้านการแพทย์หันมาสนใจ
ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมากขึ้น แต่การควบคุมก็ยังคงอยู่ในกำกับของทางราชการโดยตรงในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการออกพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะให้มีการเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพจากผู้ประกอบโรคศิลปะ
เข้าไปบางส่วนปี พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 
เพื่อตั้งสถาบันการแพทย์แผนไทยขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลการใช้สมุนไพรและเปลี่ยนคำว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นคำว่า การแพทย์แผนไทย 


ถึงแม้ว่าการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในช่วงต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2544จะเกิดขึ้นอย่างมาก แต่บุคลากรและองค์กรที่กำกับดูแลการแพทย์แผนไทยก็ยังเป็นของทางด้านการแพทย์แผนตะวันตกและยังมีการนำแนวทางการดูแลรักษาสุขภาพจากต่างประเทศเข้ามาเป็นการแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยก็ถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มการแพทย์ทางเลือกเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น